Thursday, September 22, 2011

การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้บริหาร


การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้บริหาร (InnoCreative Management for Executive)

         ปัจจุบันเรื่องของ "การพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจ"  กลายเป็นหัวใจสำคัญทางกลยุทธที่ทำให้ธุรกิจเติบโต และก้าวล้ำหน้าคู่แข่งขันได้โดยที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน  มีหลายตัวอย่างของธุรกิจในปัจจุบันที่ครองอันดับความเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรม อาทิ  Apple  Google  Facebook  Samsung หรือ P&G บริษัทเหล่านี้มี โมเดลและวิธีการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรที่น่าสนใจและเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
         ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้พัฒนาหลักสูตร คิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (InnoCreativity Thinking) และบรรยายให้กับหลายบริษัท และองค์กรภาครัฐ  จนกระทั่งได้เขียนหนังสือ ออกมา 2 เล่มคือ เล่มแรก "โลดแล่นไอเดีย และนวัตกรรม ในทะเลสี..." กับเล่มใหม่ล่าสุด "ไอเดียและนวัตกรรมในธุรกิจ (2) : INNOVATION 3.01"  และพัฒนาหลักสูตร การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้บริหาร  (InnoCreative Management for Executive) ภายใน 1 วัน แต่เน้นการฝึกปฏิบัติ

 รายละเอียดหัวข้อการบรรยาย

9.00 -10.15 น. 1.บริษัทแห่งนวัตกรรม (Innovative Company) ในยุคแห่งการ          
                              เปลี่ยนแปลง
                             -ภาพรวมแนวคิด  ความท้าทาย และความสำคัญของ 
                               นวัตกรรม
                         2. คิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม  ความเหมือนและความแตกต่าง
                             -ความหมายของ คิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
                              กิจกรรม : คลิปวีดีโอ การเกิดไอเดีย  
10.30 -12.00 น.3.โลกธุรกิจคิดทฤษฎีนวัตกรรมไว้อย่างไร
                               แบบทดสอบ : ท่านมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
                               -ทฤษฎีนวัตกรรมในธุรกิจ
                              4.โมเดลที่ธุรกิจชั้นนำใช้สร้างและจัดการนวัตกรรม
                                  -The Stage-gate Model
                                  -The SIAM Innovation  Model
                                  -บทเรียนจากบริษัทนวัตกรรม เช่น  P&G,  Apple,  
                                    Samsung      
13.00-14.45น. 5.หัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดไอเดีย ไปสู่นวัตกรรม จนนำเข้าสู่ 
                                 ตลาด
                                 - Idea Generation, Development  & Launch to Market        
                                  กิจกรรมกลุ่มพร้อมนำเสนอผลในที่ประชุม   : Innovation  
                                   3.01   {ร่วมคิด(Co-Ideation) -ร่วมออกแบบ(Co- 
                                       Design)-ร่วมพัฒนา(Co-Development)                                                             
                                      -ร่วมดำเนินการ(Co-Production) }       
15.00-16.00 น. 6.สรุปและข้อแนะนำในการจัดการนวัตกรรมในองค์กร   

   วิทยากร     ดร. ดนัย เทียนพุฒ
                        นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
  • กรรมการผู้จัดการบริษัท ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา โดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ม.ธรรมศาสตร์
  • ที่ปรึกษาธุรกิจและองค์กรชั้นนำด้าน BSC &  KPIs การบริหาร HR และพัฒนาทุนทางปัญญา
  • ผู้อำนวยการโครงการ HUMAN CAPITAL, www.dntnet.com 
  • นักวิจัย-อาจารย์โครงการพิเศษระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
  • อาจารย์พิเศษ หลักสูตรปริญญาเอก บริหารการศึกษา ม.เซนต์จอห์น ม. เกษตรศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษ หลักสูตร MBA ม.ราชภัฏสวนดุสิต MBA- Entrepreneurship ม.ฟาร์อีสเทริน์
  • อาจารย์พิเศษโครงการ MINI MBA ม.ธรรมศาสตร์, ม.เกษตรศาสตร์,ม.บูรพา
  • คอลัมน์นิสต์ “ Extreme Marketing” นสพ.inMarketing
                                                                           
                                                                  
โครงการ Human Capital
โทร 0818338505

   


Monday, June 13, 2011

หลักสูตร Scenario Planning (การวางแผนทัศนภาพ)



หลักสูตร Scenario Planning (การวางแผนทัศนภาพ) เป็นหลักสูตรที่ช่วยสร้างและกำหนดอนาคตต่อทิศทางของธุรกิจ 


ในการวางแผนกลยุทธธุรกิจ แต่เดิมมักนิยมที่จะทำการวิเคราะห์องค์กรด้วย แรงผลักดัน 5 ประการ (5 Forces Model) ของพอร์เตอร์  หรือ การพิจารณา BCG Matrix  และทำการวิเคราะห์ SWOT Analysis พร้อมกันไปด้วย


หลังจากนั้น เมื่อแนวคิดของ Balanced Scorecard ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนให้การจัดทำกลยุทธมีความครบวงจรมากขึ้นพร้อมกับการมีดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs) ทำให้รูปแบบการวางแผนกลยุทธธุรกิจแตกต่างไปจากอดีตเป็นอย่างมากหรือ ไม่พูดถึง "นโยบายและกลยุทธธุรกิจ" ตามที่เป็นวิชาหนึ่งที่สำนักMBA  สอนต่อ ๆ กันมา


แต่ในปัจจุบัน  ภูมิทัศน์ทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นความเสี่ยงที่ธุรกิจอยากจะวางแผนจัดการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนดังกล่าว
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ บอกไว้ว่า  " The greatest danger in times of the turbulence is not the turbulence; it is to act with yesterday's logic."


เรื่องราวของ การวิเคราะห์ทัศนภาพ  การวางแผนทัศนภาพ  หรือ การวางกลยุทธทัศนภาพ  
ดยเนื้อหาเป็นการเน้นถึงกระบวนการคิดสร้างและพัฒนาทัศนภาพ (Generative Scenario Thinking Process ) ซึ่งจะเรียนทั้ง "Scenario Thinking  and Scenario Planning "ที่นำไปสู่การตัดสินใจทิศทางในอนาคตของบริษัท เช่น "Scenario 2015 ของธุรกิจ"เพื่อนำสู่การกำหนดกลยุทธที่เหมาะสม


ตัวอย่างของธุรกิจที่ได้เรียนรู้หรือจัดอบรมในหลักสูตรนี้
       PTT Rayong Gas Separation Plant
          -ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปารค์รังสิต
          - สมาคมโรงพยาบาลเอกชนฯ ในหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน ติดต่อกัน มา 3 ปี 
          - บริษัท LG Electronics (Thailand) Co., Ltd. จำนวน 2 รุ่น
          -สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ในหลักสูตรการจัดการเชิงกลยุทธ (เครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก)
         -บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในหลักสูตรการจัดการเชิงกลยุทธ (เครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก)
          -หลักสูตรนักยุทธศาสตร์สำหรับผู้บริหารงานยุทธศาสตร์ ของ กระทรวงสาธารณสุข ติดต่อกัน มา 2 รุ่น
          -การประชุมปฏิบัติการเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์  ของ 3 กรม กระทรวงสาธารณสุข ปี 2554
            
ระยะเวลาการอบรม :  1-2 วัน
เนี้อหาการอบรม
ภาคความรู้
1. Scenario Planning : คืออะไร  เกี่ยวกับอะไร และจะใช้อย่างไร 
2.ประวัติความเป็นมาและตัวอย่างความสำเร็จ ของ Scenario Planning
3. เทคนิคในวิธีการของ Scenario Planning
4. การพัฒนา "ทัศนภาพที่แท้จริงของธุรกิจ" ที่เป็นไปได้ 4 ทัศนภาพอนาคต
5. การคิดกลยุทธและทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่กลยุทธของธุรกิจในฝ่ายงานต่าง ๆ ต่อทัศนภาพอนาคตทั้งหมด
6. ความแตกต่างในการประยุกต์ใช้  Scenario Planning ( ในด้าน การพัฒนากลยุทธ  นวัตกรรมใหม่ การประเมินแผนธุรกิจ  การบริหารความเสี่ยง ฯลฯ ) ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร


ภาคปฏิบัติ
  ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเทคนิคของ Scenario Planning จนสามารถสร้าง "เมทริกซ์ของอนาคต"ได้ 



วิทยากร
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
email: DrDanaiT@gmail.com


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081